นกกะทา
ที่นิยมเลี้ยงเพื่อเก็บไข่ขายนั้นเป็นนกกะทาสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมาคือ แต่ก่อนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียง ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิดแต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่นจึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตามแต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดีเพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆและใช้เงินลงทุนน้อย.....ข้อดีของการเลี้ยงนกกะทา
นกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70% ให้ผลตอบแทนเร็ว เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินลงทุนน้อย วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี
ภายในกรงกกต้องใช้กระสอบ หรือถุงอาหารสัตว์ หรือผ้าหนาๆ ปูพื้นเพื่อป้องกันขาลูกนกติดช่องตาข่าย และลูกนกได้รับความอบอุ่นเต็มที่ พอกกไปได้ 3-5 วัน อาจนำกระสอบที่ปูพื้นออกได้ แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นอาจใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หญ้าแห้งสับ เป็นต้น
กรงไก่ไข่ กรงตับไก่ไข่ กรงเลี้ยงไก่ไข่ สำหรับเลี้ยง 18 ตัว พร้อมอุปกรณ์รางน้ำ+รางอาหาร แวะดูรายละเอียดได้ https://bit.ly/2mddZap |
ลูกนกที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกเป็ด ลูกไก่ จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น โดยใช้หลอดไฟฟ้า 1 หลอด สำหรับลูกนก 60-100 ตัว อุณหภูมิที่ใช้ในการกกในสัปดาห์แรก ประมาณ 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วค่อยๆ ลดลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ จนเท่ากับอากาศธรรมดา ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตการกระจายลูกนกภายใต้เครื่องกกด้วย จะใช้เวลาในการกกนาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะช้า หรือเร็วขึ้นกับอุณหภูมิปกติ และสุขภาพของลูกนกด้วย หลังจากลูกนกอายุ 3 สัปดาห์ จะย้ายไปเลี้ยงในกรงนกรุ่น หรือกรงนกขังเดี่ยวก็ได้
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ให้น้ำ อาหาร จะต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวนลูกนกที่เลี้ยงอยู่ เพราะถ้าภาชนะให้น้ำ-อาหารไม่เพียงพอ ลูกนกจะเข้ามาแย่งกันกินน้ำ-อาหาร ทำให้เบียดและเหยียบกันตายได้ หรือลูกนกตัวที่เล็ก หรืออ่อนแอก็จะเข้าไปกินน้ำ-อาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย
0 ความคิดเห็น